ISDN คืออะไร ?
ISDN (INTEGRATED SERVICES DIGITAL NETWORK) หรือบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูลและภาพได้ด้วยระบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบ และมีความเร็วสูงกว่าการสื่อสารในระบบธรรมดาทั่วไป ทำให้คุณภาพของเสียง ข้อมูลและภาพที่ส่งผ่านระบบ ISDN มีความชัดเจน ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้นบริการ ISDN จึงเหมาะสำหรับผู้ใช้บริการสื่อสารโทรคมนาคมที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัยและคล่องตัวในการรับส่งข้อมูลข่าวสารทุกรูปแบบที่จำเป็นในการตัดสินใจได้อย่างครบถ้วน รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ในโลกธุรกิจ
Teletex
Data
Terminal
Videotex
Facsimile
Telephone
Packet Switch Public Data Network x.25
Circuit Switched Pucblic
Data Network x.21
Switched
Telephone Network
ISDN
EXCHANGE
NT
Videophone
Telelex
Data
Terminal
Videotex
Facsimile
Telephone
คุณสมบัติพิเศษของ ISDN
1.ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถติดต่อสื่อสารได้หลายรูปแบบ โดยผ่านคู่สาย ISDN เพียงคู่สายเดียว เช่น
-สัญญาณเสียง
-สัญญาณเสียงพูด
-โทรสาร
-การรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างคอมพิวเตอร์, เมนเฟรมกับเทอร์มินัล, ระบบแลน, เทเล็กซ์, เทเลเท็กซ์และวีดีโอเท็กซ์
-ภาพนิ่ง
-ภาพเคลื่อนไหว
-การส่งสัญญาณเสียงพูดไปพร้อมกับภาพเคลื่อนไหว เช่น VIDEO PHONE (โทรศัพท์ ภาพ) ซึ่งสามารถใช้โทรศัพท์ติดต่อถึงกันได้โดยในขณะเดียวกันก็แสดงภาพเคลื่อนไหวของคู่สนทนาให้ปรากฏบนจอภาพของโทรศัพท์ภาพด้วย หรือ VIDEO CONFERENCE (อุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ในการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ)
-การรับส่งข้อมูลไปพร้อมกับสัญญาณเสียงพูด เช่น MULTIFUNCTION TERMINAL เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงด้วยโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังผู้รับปลายทางด้วยความเร็วสูง พร้อมๆกับการพูดโต้ตอบทางโทรศัพท์กับผู้รับปลายทางได้ในขณะเดียวกัน
-การส่งสัญญาณเสียงพูดไปพร้อมกับภาพเคลื่อนไหวและส่งข้อมูลไปยังผู้รับปลายทางได้ในขณะเดียวกัน เช่น DESKTOP VIDEO CONFERENCE เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อพ่วงด้วยโทรศัพท์ ซึ่งสามารถพูดโต้ตอบทางโทรศัพท์ โดยมีการแสดงภาพเคลื่อนไหวของคู่สนทนาบนจอคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งยังสามารถทำการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูงไปยังผู้รับปลายทางได้อีกด้วย
2.คู่สาย ISDN เพียง 1 คู่สาย สามารถรองรับการตดตั้งอุปกรณ์ปลายทางได้จำนวนมาก (สูงสุดถึง 8 เครื่อง) โดยการติดตั้งปลั๊ก ISDN (ปลั๊กเอนกประสงค์สำหรับติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารเพื่อใช้งานทุกชนิด) ตามจำนวนอุปกรณ์สื่อสารที่ต้องการใช้งาน ซึ่งผู้ใช้บริการ ISDNนอกจากจะติดตั้งอุปกรณ์ปลายทางบางส่วนสำหรับใช้งานปัจจุบันแล้ว อาจจะเผื่อสำรองการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคตก็ได้
3.คู่สายระบบ ISDN มีจำนวนช่องสัญญาณมากกว่าคู่สายโทรศัพท์ในระบบธรรมดา ทำให้สามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารพร้อมกัน 2 เครื่องในเวลาเดียวกัน โดยในขณะที่ผู้ใช้บริการ ISDN กำลังติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการอื่นอยู่นั้น ผู้ใช้บริการก็ยังสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการรายอื่นอีกรายหนึ่งได้อีกโดยใช้ช่องสัญญาณใช้งานที่เหลืออยู่ หรือผู้ใช้บริการรายอื่นๆเรียกติดต่อมายังผู้ใช้บริการ ISDN ได้โดยผ่านคู่สาย ISDN เส้นเดียวกันนี้ เพิ่มความสะดวกรวดเร็วและคล่องตัวแก่ธุรกิจ และผู้ใช้บริการ ISDN ไม่สูญเสียโอกาสในทางธุรกิจ
4.รับส่งข้อมูลข่าวสารโดยใช้สัญญาณระบบดิจิตอลซึ่งคุณภาพของสัญญาณจะแน่นอนชัดเจนและถูกต้องกว่าการส่งสัญญาณอนาล็อกและไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณแต่อย่างใด ความคลาดเคลื่อนและสิ่งรบกวนจึงน้อยมาก นอกจากนี้ระบบ ISDN ยังสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 64 Kbps(กิโลบิตต่อวินาที) ต่อ 1 ช่องสัญญาณซึ่งสูงกว่าระบบปกติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันทำให้ประหยัดเวลาในการใช้รับส่งข่าวสารซึ่งเป็นเวลาที่มีค่าของธุรกิจ เนื่องจาก ISDN สามารถรับส่งข่าวสารได้เป็นปริมาณมากๆ ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว และทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารให้กับธุรกิจอีกด้วย
5.ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการรายอื่นที่อยู่โครงข่ายโทรศัพท์ (PUB LIC SWITCHING TELEPHONE NETWORK) ในปัจจุบันได้ทันที นอกจากนี้โครงข่ายบริการ ISDN ยังสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่นๆ (เช่น LAN, PABX ฯลฯ) ได้อีกด้วย ทำให้ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ
อุปกรณ์เครื่องปลายทางที่ใช้ในระบบ ISDN
ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถเลือกติดตั้งอุปกรณ์เครื่องปลายทางได้ดังนี้ คือ
1.อุปกรณ์เครื่องปลายทางที่เป็นระบบ ISDN เป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อเข้ากับปลั๊ก ISDN แล้วสามารถใช้งานได้ทันที ได้แก่
-โทรศัพท์ระบบ ISDN (DIGITAL TELEPHONE)
-โทรสารระบบดิจิตอล (GROUP 4)
-เครื่องคอมพิวเตอร์หรือดาต้าเทอร์มินัลที่ติดตั้งการ์ด ISDN หรือ DIGITAL MODEM
-โทรศัพท์ภาพ (VIDEO PHONE)
-บริการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (TELE-CONFERENCE)
-ตู้สาขาอัตโนมัติระบบ ISDN (ISDN PABX)
2.อุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในระบบเดิมจะต้องต่อผ่านอุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า TERMINAL ADAPTER (TA) ก่อนที่จะใช้งานในคู่สายระบบ ISDN ได้แก่
-โทรศัพท์ทั่วไป
-โทรสารทั่วไป (GROUP 3)
-เครื่องคอมพิวเตอร์หรือดาต้าเทอร์มินัลต่อเข้ากับ TA แทนการใช้ MODEM สื่อสารข้อมูลในปัจจุบัน
-เทเล็กซ์
-เทเลเท็กซ์
-วีดีโอเท็กซ์
บริการของ ISDN
บริการหลักมี 2 รูปแบบ คือ
1.แบบ BAI (BASIC ACCESS INTERFACE) เป็นรูปแบบการให้บริการเดินสายตรงถึงสำนักงานผู้ใช้บริการด้วยคู่สายเคเบิลทองแดงธรรมดา โดยคู่สายระบบ ISDN เพียง 1 คู่สายนี้ ผู้ใช้บริการ ISDN สามารถนำอุปกรณ์เครื่องปลายทางชนิดต่างๆมาติดตั้งใช้งานได้ถึง 8 เครื่อง และสามารถใช้งานอุปกรณ์สื่อสารได้พร้อมกัน 2 เครื่อง เพราะจะมีช่องสัญญาณสื่อสารอยู่ 2 ช่องสัญญาณ โดยแต่ละช่องสัญญาณสามารถติดต่อสื่อสารด้วยความเร็วสูงถึง 64 Kbps(กิโลบิตต่อวินาที) ทำให้เกิดความรวดเร็ว คล่องตัว และเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน บริการชนิดนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง
2.แบบ PRI (PRIMARY RATE INTERFACE) เป็นรูปแบบการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ ISDN ด้วยการวางเคเบิลใยแก้วนำแสง(FIBRE OPTIC) ไปยังตู้สาขาอัตโนมัติ(ISDN PABX) ของผู้ใช้บริการ โดยมีช่องสัญญาณสื่อสารอยู่ถึง 30 ช่องสัญญาณ ด้วยความเร็วของช่องสัญญาณจะถูกมัลติเพล็กซ์เข้าด้วยกันแล้วส่งไปในสายส่งสัญญาณชนิด PRI ด้วยความเร็วสูงสุด 2.048 Mbps(เม็กกะบิตต่อวินาที) บริการชนิดนี้เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความต้องการรับส่งข้อมูลข่าวสารเป็นปริมาณมากด้วยความเร็วสูง
บริการเสริม (SUPPLEMENTARY SERVICE)
-บริการแสดง/ระงับแสดงหมายเลขที่เรียกเข้า (บนจอของเครื่องโทรศัพท์ ISDN)
-บริการเรียกเข้าตู้สาขาอัตโนมัติระบบ ISDN โดยตรง
-บริการให้หมายเลขประจำเครื่องมากกว่า 1 เลขหมาย
-บริการขอขยายเลขหมายเพิ่ม
-บริการส่งข้อความระหว่างผู้ใช้ (ไปบันทึกบนเครื่องปลายทางในกรณีที่ไม่มีผู้รับที่เครื่องปลายทาง)
-บริการถอด-ย้ายอุปกรณ์เครื่องปลายทาง (ในขณะที่มีการติดต่อกันอยู่ ทำให้สัญญาณไม่ถูกตัดขาด สามารถติดต่อกันได้)
พื้นที่ให้บริการ ISDN
องค์การโทรศัพท์ฯ ได้กำหนดเปิดให้บริการ ISDN ในพื้นที่ครอบคลุมย่านธุรกิจที่สำคัญในกรุงเทพฯและจังหวัดใหญ่ๆที่เป็นย่านธุรกิจ ดังนี้
นครหลวง : สุรวงศ์ พหลโยธิน เพลินจิต พระโขนง ปทุมวัน ลาดพร้าว 1 ดอนเมือง แจ้งวัฒนะ นวนคร พระประแดง บางซื่อ (อโศกดินแดง สำราญราษฎร์ กรุงเกษม สุขุมวิท คลองเตย บางนา ชัยพฤกษ์ สาธุประดิษฐ์ ทุ่งมหาเมฆ เอกชัย หัวหมาก ดาวคะนอง สมุทรปราการ ปทุมธานี : พื้นที่เตรียมการติดตั้งชุมสาย ISDN เพื่อให้บริการในปี 2539)
ภูมิภาค : เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ นครราชสีมา สระบุรี ขอนแก่น พัทยา แหลมฉบัง มาบตาพุด สุราษฎร์ธานี หาดใหญ่ ภูเก็ต (สมุทรสาคร เชียงราย : พื้นที่เตรียมการติดตั้งชุมสาย ISDN เพื่อให้บริการในปี 2539)
ประเทศที่ให้บริการ ISDN ระหว่างประเทศ : สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น (เดนมาร์ก เยอรมัน อิตาลี ฝรั่งเศส สวีเดน เบลเยี่ยม นอร์เวย์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย ไต้หวัน และอินโดนีเซีย : มีแผนจะเปิดให้บริการติดต่อกับประเทศเหล่านี้ผ่านระบบ ISDN ได้ในปี 2539)
อัตราค่าบริการ ISDN
ประเภท BAI
1.เงินประกันการใช้ 3,000.- บาท
2.ค่าติดตั้ง-พร้อมเดินสายภายใน 1 จุดและปลั๊ก ISDN 1 ตัว
(รวมอุปกรณ์กันฟ้า) 3,700.- บาท
3.ค่าเช่าเลขหมาย/เดือน 100.- บาท
ประเภท PRI
1.เงินประกันการใช้ 90,000.- บาท
2.ค่าติดตั้ง 100,500.- บาท
3.ค่าเช่าเลขหมาย/เดือน/PRI 7,500.- บาท
อัตราค่าใช้จ่ายบริการสื่อสาร
-ท้องถิ่น 3.- บาท/ครั้ง
-ภูมิภาค (ใช้อัตราทางไกลเท่ากับระบบเดิม)
นอกจากนี้องค์การโทรศัพท์ฯ ยังได้จัดเตรียมอุปกรณ์สื่อสารในระบบ ISDN ชนิดต่างๆ ให้สำหรับผู้ใช้บริการ ISDN ได้เช่าใช้ในราคาถูกอีกด้วย
-------------------------- END OF ISDN SUMMAIZE -----------------------
วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น